มูลนิธิสมพร บ.ห้วยน้ำเย็น ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ทำเนียบผู้บริหารงานมูลนิธิสมพร

ประธานมูลนิธิสมพร

คุณแม่สมพร  ชัยราช

(pon1) 2010715_55068.jpg

  

รองประธานมูลนิธิสมพร

คุณศุภชัย  ชัยราช

 

 

เลขานุการมูลนิธิสมพร

คุณรวิสรา  ฟองคำ

(gallery) 201087_48827.jpg


  

 

 

 

 

 

เหรัญญิกมูลนิธิสมพร

คุณชุมพร  บงคำ

(pon1) 2010715_55182.jpg

  

กรรมการบริหาร

คุณประเสริฐ  กายทวน

(pon1) 2010715_55161.jpg

  

กรรมการบริหาร

คุณพรอำไพ  มณีจักร

(pon1) 2010715_55202.jpg

  

กรรมการบริหาร

คุณพรหมมินทร์  อินทะวิชัย

(pon1) 2010715_55228.jpg

  

กรรมการบริหาร

คุณนงคราญ  จิโนสา

(pon1) 2010715_55089.jpg

 

 


งานสังคมสงเคราะห์ที่ต้องการ

 ความช่วยเหลือ หรือพบเห็นผู้สูงอายุ ที่ถูกทอดทิ้ง

เด็กกำพร้า ขาดโอกาสทางด้านการศึกษา

ติดต่อเรา มูลนิธิสมพร

     

มูลนิสมพรคืออะไร?

                มูลนิธิสมพรเป็นมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุและเด็กกำพร้าติดเชื้อเอดส์เด็กด้อยโอกาสทางด้านการศึกษา ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2551 ภายใต้กำหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีคณะทำงานและดำเนินการเป็นคนไทยร่วมกับนักกฎหมายชาวเนเธอร์แลนด์ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลืออุปถัมภ์ดูแลผู้สูงอายุหรือคนแก่ชราที่ถูกทอดทิ้ง ในประเทศไทยในเฉพาะเขตจังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ได้รับการช่วยเหลือในกรณีที่ผู้สูงอายุหรือคนแก่ชราที่ทอดทิ้งไม่มีใครดูแล เช่นการได้รับปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้นและยังได้ให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษาให้แก่เด็กชาวเขา ส่งเสริมกิจกรรมชุมชน และสนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียนต่าง ๆ ในเขตพื้นที่อำเภอแม่อาย นอกจากนี้มูลนิธิสมพรได้สนับสนุนทุนการศึกษา ให้กับเด็กนักเรียนที่มีผลการเรียนดีสม่ำเสมอแต่ขาดทุนทรัพย์ในการศึกษาต่อหลังจากการเรียนจบชั้นประถมศึกษาแล้ว 

                มูลนิธิสมพรให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุคนแก่ชราในภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตจังหวัดเชียงใหม่ โดยเน้นให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งที่อยู่ตามบ้านและไม่มีใครดูแลช่วยเหลือในยามแก่ชรา ซึ่งโดยมากแล้วยังเป็นคนแก่ชราในพื้นที่อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง และอำเภอไชยปราการ บางส่วนก็ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานทางรัฐ เช่น การได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน อีกทั้งหากคนแก่ชราเจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบาย ก็ต้องเข้ารักษาตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในแต่ล่ะเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของมูลนิธิสมพรที่จะต้องให้การช่วยเหลือ เช่นการนำส่งโรงพยาบาลชุมชนต่าง ๆ การพักฟื้นไข้ การกายภาพบำบัด ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นหน้าที่ของมูลนิธิสมพรที่อาสาเข้ามาดูแลคนแก่ชรากลุ่มนี้มาโดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา  

                ปัจจุบันมูลนิธิสมพรได้ก่อสร้างอาคารสำนักงานและที่ทำการเพื่อรองรับกับคนแก่ชราผู้สูงอายุเหล่านี้ไว้ ณ เลขที่ 330 หมู่ที่ 4 บ้านห้วยน้ำเย็น ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย ทางหลวงชนบทหมายเลข 1089 ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่โดยประมาณ 179 กิโลเมตร นั่งรถโดยสารผ่านทางหลวงหมายเลข 107 และ1089 เส้นทางผ่าไปอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย  ซึ่งการก่อสร้างอาคารและที่พักผู้สูงอายุคนแก่ชราร่วมอยู่ด้วยนั้นเพื่อรองรับคนแก่ที่ถูกทอดทิ้งทิ้งและไม่มีที่อยู่อาศัยทางมูลนิธิสมพรก็พร้อมที่จะนำพาเข้ามาดุแลยังมูลนิสมพร โดยมูลนิธิสมพรมีเจ้าหน้าที่อาสาสมัครเข้ามาทำงานร่วม จำนวน 10 คนเพื่อทำงานดูแลคนแก่ชราตลอดจนเด็กด้อยโอกาสภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบในอำเภอแม่อาย (รายละเอียดยังมีเพิ่มเติม) 

                มูลนิธิสมพรก็ยังมีโครงการต่าง ๆ และจัดการดูแลรับผิดชอบโดย นางสมพร ชัยราช ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิสมพรผู้เริ่มการก่อตั้งมูลนิธิสมพร ปัจจุบันนางสมพร ประกอบกิจการร้านอาหารไทย ในประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้โครงการต่างๆ ยังได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากชาวไทยในประเทศเนเธอร์แลนด์อีกด้วย ตลอดจนฝรั่งในประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ยังให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในโครงการต่างด้วย เช่น การก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านแก่งตุ๋ม(อาคารเรียน) และในปีต่อมาก็สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างแทงค์พักน้ำในหมู่บ้าน และอื่น ๆ อีกมากมายโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการมานั้นได้รับผลการตอบรับจากชาวบ้านเองและการสร้างความสามัคคีให้กับคนในหมู่บ้านได้มีส่วนร่วมในการดำเนินโดยดีตลอดมา  

                ปัจจุบันศูนย์การเรียนชุมชนบ้านแก่งตุ๋ม มีหน้าที่หลักคือ จัดให้มีการเรียนการสอนให้กับเด็กภายในหมู่บ้าน และส่งเสริมองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้กับชาวบ้านที่สนใจเรียน  

                วิสัยทัศน์ของมูลนิธิสมพร(Vision) ให้โอกาสผู้ยากไร้ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสให้เข้าถึงบริการด้านต่างๆ และมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข 

พันธกิจของมูลนิธิสมพร(Mission) ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม ช่วยเหลือผู้สูงอายุให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุและส่งรักษาต่อแบบองค์รวม สนับสนุนภารกิจชุมชนหน่วยงานชุมชนตามความเหมาะสม  ส่งเสริมวัฒนธรรม และกิจกรรมในชุมชน ตามสมควร ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ 

 

 

เงินที่ได้รับบริจาคจะไปอยู่ที่ไหนบ้าง?

          100 เปอร์เซ็นของเงินที่ได้รับบริจาคจะถูกนำไปใช้และช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายของมูลนิธิสมพรโดยทันที เพราะงานที่มูลนิธิสมพรต้องดูแลและรับผิดชอบนั้นต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงานต่าง ๆ นั้นเป็นต้นทุนที่สูงพอสมควร เช่น ค่ารักษาพยาบาลกับคนแก่ชราที่ไม่มีสิทธิบัตร เด็กที่ไม่มีสิทธิบัตรทางด้านการรักษาพยาบาล ค่าอาหาร ข้าวสาร อาหารแห้งต่าง ๆ ขออธิบายเพิ่มเติม การช่วยเหลือนั้นปัจจุบันผู้รักการช่วยเหลือ มียอดเป็นจำนวนหลักร้อย ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่อาย 79 ครอบครัว  108 คน ที่มูลนิธิสมพร ต้องดูแลและให้การช่วยเหลือในแต่ล่ะเดือน และที่พักอยู่ที่มูลนิธิสมพร 12 คน เด็กนักเรียน 15 และอาสาสมัคร 10 คน และอื่น ๆ อีกมากมายในยามฉุกเฉินกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการช่วยเหลือในแต่ละเดือนทุนทรัพย์งบประมาณ มากถึงหลักแสนต่อเดือน

                สำหรับทุกการศึกษาให้กับเด็กนักเรียน ที่เข้าศึกษาต่อในระดับชั้นต่าง ๆ รวมแล้ว 44 คน ที่ต้องดูแลในขณะนี้ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ยังไม่ได้มีเลข 13 หลัก(ชนเขาเผ่าลาหู่) และยังคงสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทยพม่า ซึ่งอยู่ห่างจากค่ายทหารพม่าเพียง 2 3 กิโลเมตรเท่านั้น การอยู่บนผืนแผ่นดินไทยโดยไร้สัญชาติ ไร้รัฐและยังไร้ความมั่นคงในถิ่นที่อยู่อาศัย อาชีพหลัก ๆ ของชาวบ้าน คือการทำไร่ ปลูกข้าว ข้าวโพด และหาของป่าขายเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้แบบวิถีชาวเขา 

                 

โครงการที่ยังต้องการและเร่งพัฒนาเพื่อสร้างรากฐานและความมั่นคงให้กับเด็กกลุ่มเป้าหมาย 

                1..หอพัก อาคารเรือนพยาบาล บริเวณภายในหมู่บ้านซึ่งต้องเพิ่มศักยภาพในเข้าถึงหลักสุขภาพของชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวให้ได้โดยมาก หอพัก สถานที่จะก่อสร้างคือบริเวณภายในที่ทำการมูลนิธิสมพร หลักการและเหตุผลอื่นนั้น คือ เด็กนักเรียนหากผ่านการประเมินผลการเรียนจากศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านแก่งตุ๋มแล้ว ก็ส่งมาเรียนต่อที่ โรงเรียนบ้านท่าตอนในระดับชั้นเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาตามลำดับซึ่งในปัจจุบันทางมูลนิธิสมพรได้รับนักเรียนกลุ่มดังกล่าวจำนวน 12 คน เข้าพักอาศัยร่วมกับคนแก่ชรา ซึ่งหากมองแล้วเด็กกับคนแก่ก็มีความแตกต่างเรื่องอายุ การอยู่อาศัยต้องใช้วิธีสุขุมให้มาก เช่นตัวอย่างเด็กนักเรียนมีพัฒนาการในด้านต่างที่ต้องมีการใช้สถานที่ทำกิจกรรม และภาวะทางเสียง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพักผ่อนของคนแก่ภายในมูลนิธิสมพร โครงการที่จะจัดทำขึ้นในภายหน้าคงจะก่อสร้างอาคารที่พัก หอพักให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายต่อไปในโอกาสหน้าจะมีการเพิ่มจำนวนนักเรียนกลุ่มดังกล่าวเพิ่มเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการเตรียมการเพื่อรองรับเป็นสิ่งที่ผู้ดำเนินการและทีมงานต้องร่วมมือการวางแผนในระยะยาวและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับไป 

 

                2.อาคารเรือนพยาบาล สำหรับใช้ในหมู่บ้านกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นหมู่บ้านหลักที่มูลนิธิสมพรดูแลรับผิดชอบอยู่ มีจำนวนประชากร 39 หลังคาเรือน จำนวนผู้อาศัย 179 คน เด็กจำนวน 50 คน ดังนั้นการคมนาคมซึ่งเป็นปัญหา เรื่องปัญหาเขตแดนระหว่างประเทศ ที่อยู่อาศัย(ยังไมได้ความชัดเจน)ว่าเป็นของประเทศใดนั้นจึงเป็นปัญหาเรื่องการพัฒนาที่เข้าถึงหมู่บ้านดังกล่าว เพราะอยู่ห่างไกล จากหมู่บ้านที่เจริญแล้วเพียงแค่ 3 กิโลเมตร จากเส้นทางหลัก ดังนั้นจะมองเห็นถึงการพัฒนายังเข้าๆไม่ถึงหมู่บ้าน และอะไรอีกหลาย ๆ อย่างก็ยังด้อยการพัฒนา ปัญหาด้านสุขภาพคุณภาพชีวิตประจำเป็นสิ่งสำคัญ ที่ชาวบ้านยังไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ทางมูลนิธิสมพรจึงมีโครงการและแนวทางเพื่อพัฒนาต่อไป 

 

                เด็ก ๆ กับวิถีชีวิตแบบชนเผ่าที่ไร้แม้แต่แสงส่องสว่าง อยู่หลังเขา หมู่บ้านที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของมูลนิธิสมพร(มากกว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ)ที่จะเข้าไปดูแลถึงแม้ว่าเป็นหมู่บ้านที่ไม่กว้างใหญ่มากแต่ก็ยังมีสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นต้องการที่จะให้คณะผู้ใจบุญทั้งหลายเข้าไปดูแล 

 

โครงการต้นทุนที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว  

 1.โครงการก่อสร้างอาคารเรียนศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนเกณฑ์ศรีสองเมือง ต.บ้านหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่    200,000   บาท

2.โครงการก่อสร้างอาคารเรียนชุมชนบ้านแก่งตุ๋ม ขนาด 8x8 เมตร                                           187,537   บาท           

3.โครงการก่อสร้างอ่างพักน้ำขนาด 9x8 เมตร                                                                230,000   บาท           

4.โครงการก่อสร้างอาคารโรงอาหารประจำศูนย์บ้านแก่งตุ๋ม                                                   130,000    บาท          

 

ภาระกิจช่วยเหลือสังคม 

สิ่งที่มูลนิธิสมพรได้รับใช้งานด้านสังคม งานส่วนร่วมไม่ว่าจะด้านการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุต่าง ๆ มูลนิธิสมพรยังได้จัดตั้ง ชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้น(กู้ชีพมูลนิธิสมพร) ไว้บริการประชานในพื้นที่รับผิดชอบตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้นสิ่งที่มูลนิธิสมพรทำนั้นไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานล้วนแต่เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าวและได้รับการยอมรับจากประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกด้วย  

 

ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้านแก่งตุ๋ม 

หมู่ที่ 3 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

.................................................................................................................... 

                จากการสำรวจข้อมูลโดยร่วมกับชาวบ้านและเจ้าหน้าหน่วยงานในพื้นที่ตลอดจนผู้สูงอายุในเขตตำบลท่าตอนแล้วนั้น ได้ความเป็นมาของหมู่บ้านแก่งตุ๋มที่ตั้งอยู่หลังเขาโดยมีอาณาเขตติดกับแนวชายแดน ไทย – พม่า ระยะทางห่างจากประเทศเพื่อนบ้านราวประมาณ 2-3 กิโลเมตร ที่ตั้งของหมู่บ้านนั้นยังเป็นดินแดนที่มีข้อพิพาททางด้านเขตแดนบ้านเมืองเพราะประเทศพม่าเองก็ว่าเป็นเขตรับผิดชอบของพม่า และประเทศไทยเองก็ระบุว่าเป็นเขตรับผิดชอบของไทยเพราะฉะนั้นเองชาวบ้านและชีวิตการเป็นอยู่ของชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการพัฒนาหรือได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐแต่ยังใด ถึงอย่างไรก็ตามชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชนเขาเผ่าลาหู่ที่มีชีวิตการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย การคมนาคมเข้าสู่หมู่บ้านแทบหาทางเข้าหมู่บ้านยากลำบากเพราะมีอยู่ทางเดียวเท่านั้นที่จะเข้าไปได้คือต้องเดินผ่านวัดท่าตอนพระอารามหลวงซึ่งเป็นวัดที่สร้างอยู่บนภูเขาหลายลูกด้วยกันดังนั้นทางเข้าหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2512 นั้นจึงเป็นไปด้วยความลำบากพื้นที่โดยรอบของหมู่บ้านมีเนื้อที่ราวประมาณ 500 กว่าไร่ จึงเป็นสาเหตุที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ปักหลักและยึดถิ่นฐานที่บ้านแก่งตุ๋ม

 

การย้ายถิ่นฐานของชาวบ้านแก่งตุ๋ม 

                ก่อนที่จะมาเป็นบ้านแก่งตุ๋มประวัติเดิมมีเรื่องราวที่ผู้อาวุโสในหมู่บ้านเล่าให้ฟังจนสืบทอดมาเป็นตำนานจนถึงทุกวันนี้ว่า ชาวบ้าน 4-5 ครอบครัวหนึ่งในนั้นคือครอบครัวของ นายจะแนะ จะบือ เล่าให้ฟังว่า ตนและพวกได้แยกตัวมาจากหมู่บ้านแก่งทรายมูล หมู่ที่ 14 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2512 และ นายจะบือ เป็นผู้นำคนแรกของหมู่บ้านแห่งนี้ ครั้งเมื่อครั้งเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่นั้นนายจะบือ บอกว่ามีจำนวนประชากร จำนวน 200 กว่าคน ชื่อของหมู่บ้านแก่งตุ๋มนั้นได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าคุณพระครูวิมลกิตติสาร(พระราชปริยัติเมธี) เจ้าอาวาสวัดท่าตอน เดิมหมู่บ้านแห่งนี้ได้รับความดูแลจากเจ้าอาวาสวัดท่าตอนและชาวบ้านบางส่วนก็เข้ามารับจ้างขายแรงงานในหมู่บ้านท่าตอนเป็นอาชีพหลัก และยังทำไร่เช่น ปลูกข้าว,ข้าวโพด ตลอดจนหาของป่ามาขายตามฤดูกาล ดังนั้นเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมานั้นหมู่บ้านแห่งนี้สามารถอยู่ได้ด้วยวิถีชีวิตดั่งเดิมของเขาเองได้ เพราะยังไม่มีการพัฒนา พื้นที่และบริเวณของหมู่บ้านตอนนั้นมีจำนวนกว่า 500-600ไร่ ที่ชาวบ้านสามารถประกอบอาชีพได้และส่วนมาแล้วชาวบ้านก็จะทำอาชีพ เกษตรเลื่อนลอยเพราะในช่วงแต่ละปีชาวบ้านก็สารถปลูกข้าวได้เฉพาะฤดูฝน หากไปทำฤดูอื่นก็ไม่มีผลผลิต ดังนั้นหลังจากที่ว่างจากงานบนดอยแล้วชาวบ้านก็จะลงมารับจ้าง ในหมู่บ้านท่าตอน บางทีก็ทำงานแลกข้าว แลกอาหาร หลังจากนั้นชาวบ้านเองก็เริ่มมีการแตกแยกเพราะลงมาเห็นความเจริญและสิ่งที่ทันสมัยในหมู่บ้านท่าตอน ส่วนใหญ่ครอบครัวที่มีลูกสาวก็จะส่งไปทำงานในเมือง อย่างเช่น ตัวอำเภอแม่อาย ,ฝาง เป็นต้นหลังจากนั้นก็พากันย้ายถิ่นฐานลงมาอาศัยอยู่พื้นที่ราบบ้างเป็นส่วนใหญ่  การพัฒนาที่ยังเข้าไม่ถึงหมู่บ้านนั้นเป็นสิ่งที่ดีอยู่บ้างเพราะหากนำสิ่งทันสมัยหรือเทคโนโลยีเข้าไปแล้วชาวบ้านเองก็จะไม่พัฒนาตัวเอง ดังนั้นชาวบ้านเองก็ยังมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ส่วนใหญ่ชาวบ้านนับถือศาสนา พุทธ (ผี )และยังใช้ภาษาลาหู่เป็นภาษาถือใช้สื่อสารกัน โดยมากจะไม่รู้ภาษาไทยมากนักแต่มีความพยายามที่จะเรียนรู้และสามารถที่จะรับรู้ได้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ แต่ก็ยังมีการพัฒนาส่งลูกหลานเข้ามาเรียนที่โรงเรียนวัดท่าตอนที่เจ้าอาวาสวัดท่าตอนอนุเคราะห์ในเรื่องการให้ความรู้กับชาวเขา

 

หมู่บ้านกับการพัฒนา 

                การพัฒนาหมู่บ้านและองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือหมู่บ้านและชาวบ้านได้รับความช่วยเหลือจากวัดท่าตอน และองค์กรสมาคมลาหู่แห่งประเทศไทย และหน่วยทหารในพื้นที่ สมาคมลาหู่ได้จัดสร้างระบบปะปาภูเขาและสร้างอ่างเก็บน้ำในหมู่บ้าน และยังได้รับความอนุเคราะห์จากสถานีอนามัยบ้านท่าตอนได้ให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัวและรักษาพยาบาลเบื้องต้น  

 

จากอดีตสู่ปัจจุบัน 

                ครั้งเมื่อยังมีการพัฒนาตามความเป็นอยู่ของประชากรแล้ว การพัฒนาคนเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามแต่อย่างใด หากทุกหน่วยงานทุกองค์กรยังเน้นการพัฒนาที่วัตถุอยู่ การพัฒนาก็ยังคงเดิมอยู่เสมอไปดังนั้น การพัฒนาที่ดีต้องเริ่มจากตัวคนแล้วถึงจะมีการพัฒนาวัตถุตามมา จึงเป็นเหตุให้ประชากรส่วนใหญ่มีปัญหาในด้านการสื่อสาร ภาษา และจารีตวัฒนธรรม ถูกลืมและไม่มีการอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้สืบทอด การเข้าไปพัฒนาของ มูลนิธิสมพร และองค์กรต่างก่อนหน้านั้นทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความกระตือลือล้นมากขึ้นเพื่อพัฒนาตนเองให้ทันยุคทันสมัย ชาวบ้านยังคงอาชีพเดิมและยังคงต้องอยู่อย่างยากลำบากเหมือนตามเคย เพราะการพัฒนาที่ผิดวัตถุประสงค์ของการพัฒนา เมื่อต้นปี พ.ศ. 2550 สมาคมลาหู่แห่งประเทศไทยได้เข้าไปสร้างระบบน้ำอุปโภคบริโภค ให้แต่ชาวบ้านขาดความรู้ความสามารถ จึงทำให้หาแหล่งน้ำที่ใช้ถาวรไม่ได้ ปัญหาเรื่องน้ำเป็นสิ่งที่ต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงใหม่ และต้องสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งต้นกำเนิดของน้ำ เพราะชาวบ้านยังขาดคนชี้แนะ หลังจากนั้นชาวบ้านก็เริ่มพัฒนาการคมนาคมเพื่อให้เข้าถึงหมู่บ้านและสะดวกมากขึ้นโดยการบุกเบิกเส้นทางใหม่ทางด้าน เส้นทาง ทางหลวงชนบท ท่าตอน-ดอยลาง ซึ่งชาวบ้านก็สามารถสัญจรไปมาสะดวกอีกทั้งยังมีการพัฒนาอาชีพ เช่น การเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ไว้สำหรับประกอบอาหารหรือนำมาขายเพื่อแลกข้าวสาร ดังนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่รู้ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย แต่ยังมีการอนุรักษ์ประเพณีดั่งเดิมของชนเผ่าไว้อยู่บ้าง ปัญหาเมื่อกลางปี พ.ศ.2550 เรื่องการขอย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยลงมาอยู่พื้นที่ราบนั้น มีหน่วยงานเช่น องค์กรสิทธิมนุษยชน และสมาคมลาหู่ ร่วมกับองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ผลคือปัญหาที่อยู่อาศัยอยู่นั้นเป็นปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศเพราะยังเป็นเขตแดนที่ยังไม่ระบุแน่ชัดว่าเป็นของ ไทยหรือพม่า ดังนั้นหน่วยงานจึงพยายามพลักดันให้ชาวบ้านแก่งตุ๋มลงมาอยู่ที่หมู่บ้านห้วยปู หมู่ที่ 1 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แต่ด้วยความรักถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนและระบบวิถีชีวิตแบบดั่งเดิมแล้วชาวบ้านเองก็จำเป็นต้องย้าย แต่ยังมีปัญหาอยู่ว่าหน่วยงานไม่สามารถหาที่อยู่ใหม่ให้เขาได้จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านต้องอยู่ที่เดิม จากการสัมภาษณ์ นายจะลอ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(ปัจจุบัน) ว่าเราเองก็ไม่อยากลงไปเพราะเราอยากอยู่ตรงนี้และยังมีที่ทำกินอยู่ หากได้ลงไปจริงๆแล้วเราคงไม่มีที่ทำกินและต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างลำบากแน่ ชาวบ้านจึงรวมตัวและรวมความคิดว่าเราจะยังอยู่ที่นี่ต่อไป นายจะลอและชาวบ้านกล่าว

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2551  มูลนิธิสมพร โดย นางสมพร ชัยราช พร้อมทีมงานลงสำรวจข้อมูลและสอบถามความต้องการของชาวบ้านว่าต้องการอะไรสิ่งที่ ชาวบ้านต้องคือ 1.ไฟฟ้า 2.ถนน และนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่ชาวบ้านต้องการ และยังไม่มีใครเอ่ยถึงเลยว่าเด็กๆจะเรียนหนังสือที่ไหน ดังนั้นเมื่อเดินเข้าในหมู่บ้านทีมงานก็เจอกับผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคหอบ โรคกระดูก และมะเร็งในกระดูกไข้สันหลัง เด็กแรกเกิด ที่เป็นอีสุกอีใสหลังจากนั้นทีมงานก็ได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับคนไข้ และทีมงานก็เดินทางต่อพอมาเจอเด็กๆกำลังเล่นกันอยู่ หนึ่งในทีมงานของเราก็สอบถามเด็กถึงเส้นทางที่จะไปภายในหมู่บ้านแต่สิ่งที่ทีมงานต้องตลึงคือเด็กๆไม่สามารถพูดหรือสื่อสารภาษากับทีมงานได้ จึงทำให้เราต้องพึ่งพาไกด์(หรือล่ามภาษา) ในการเดินทางครั้งนี้จึงเป็นด้วยความเรียบร้อย จึงทำให้ท่านประธานมูลนิธิสมพรต้องมีงานทำเพราะเมื่อเดินทั่วทั้งหมู่บ้านแล้วไม่พบโรงเรียนเลยอีกทั้งสอบถามชาวบ้านว่า “เด็กๆไปเรียนหนังสือที่ไหนค่ะ แล้วโรงเรียนอยู่ที่ไหน” ชาวบ้านก็ตอบว่า “โรงเรียนนั่นอยู่อีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านแก่งตุ๋มไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตรเดินทางเท้า” จากนั้นก็เป็นจุดหนึ่งที่ทีมงานให้ความสนใจจึงเก็บข้อมูลและสอบถามความเป็นมาถึงเรื่องการเรียนของเด็ก ได้ความว่า เด็กๆ ที่จะเรียนหนังสือต้องเดินทางเท้าผ่านเขาหลายลูกมาที่หมู่บ้านป่ากุ๋ยซึ่งตั้งอยู่ติดกับถนนทางหลวงชนบท ท่าตอน-ดอยลาง ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชาวเขาและหลังจากนั้นมูลนิธินาวาเด็ก ได้เข้ามาพัฒนาต่อเนื่องและเป็นองค์กรที่ดูแลหมู่บ้านนี้มาโดยตลอดจึงทำให้บ้านป่ากุ๋ยมีแหล่งเรียนรู้และพัฒนามาเรื่อยๆจึงทำให้เด็กๆในหมู่บ้านป่ากุ๋ยได้เรียนหนังสือและมีโอกาสได้มาเรียนต่อที่โรงเรียนบ้านท่าตอน  แต่เด็กบ้านแก่งตุ๋มกลับเจอปัญหาคือการเดินทางมาเรียนและระยะทางที่เป็นอุปสรรค์สำหรับเด็กนักเรียน ด.ช.จะจ๋อย เล่าให้กับทีมงานฟังว่า นักเรียนที่เดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านป่ากุ๋ยนั้นมี 18 คน เป็นเด็กอายุ 4-5 ปี จำนวน 6 คนและเหลือจากนั้นก็เป็นเด็กนักเรียนอายุตั้ง 7-12 ปี ที่เดินทางไปเรียน จะจ๋อยเล่าให้ฟังอีกว่าหากเด็กตัวโตๆไม่ไปเรียนเด็กเล็กก็ไม่ได้ไปและการเดินทางต้องเดินทางไปเรียนเป็นกลุ่มหากขาดคนใดคนหนึ่งก็จะไม่ไปเรียนเพราะเส้นเป็นทางเปลี่ยวและเป็นเส้นทางที่ติดกับแนวชายแดนประเทศพม่า เด็กๆก็เลยไปเรียนไม่สม่ำเสมอจึงทำให้เด็กเรียนไม่ทันเพื่อนที่บ้านป่ากุ๋ยจึงเป็นเหตุให้เด็กๆในหมู่บ้านไม่ได้เรียนหนังสือตามเกณฑ์ของการเรียน ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิใดๆทั้งนั้นเพราะชาวบ้านไม่ได้ถือสัญชาติไทยแต่เป็นชนชาติพันธุ์ 9 เผ่าที่สามารถอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายจึงเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านแห่งนี้ไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐและหน่วยงานใดที่จะเข้ามาพัฒนาและให้ความช่วยเหลือ ดังนั้นมูลนิธิสมพรจึงได้ปรึกษาหารือถึงเรื่องการก่อสร้างอาคารเรียนเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ของหมู่บ้านแก่งตุ๋มและเพื่อให้เด็กได้มีแหล่งรู้เหมือนโรงเรียนเมื่อต้นปี พ.ศ.2551 ทางมูลนิธิสมพรได้ระดมทุนทรัพย์และได้รับความอนุเคราะห์จากท่านประธานมูลนิธิสมพรคือ คุณสมพร ชัยราช พร้อมทีมงานจากต่างประเทศ(เนเธอร์แลนด์) ในการก่อสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารห้องโล่งขนาด ความกว้างคูณยาว  8x8 เมตร  ปลายเดือนมิถุนายนก่อสร้างอาคารเสร็จและทางมูลนิธิสมพรได้จัดเจ้าหน้าที่ขึ้นไปให้ความรู้และสอนหนังสือให้กับเด็กภายในหมู่บ้าน มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 43 คน ตั้งอายุ 3-14 ปี และได้มีการเรียนการสอนมาโดยตลอดและนักเรียนรุ่นแรกที่เรียนจบจากบนดอยแล้วก็จะส่งมาเรียนต่อที่โรงเรียนบ้านท่าตอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อ เพราะเด็กส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการเรียนรู้ทางมูลนิธิสมพรยังคงดูแลในเรื่องอาหารกลางวันสำหรับเด็กที่มาเรียนอีกทั้งอาหารเสริมด้านโภชนาการอีกด้วย ดังนั้นการพัฒนาเริ่มมาถูกทางเพราะเด็กส่วนใหญ่สามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์จากโรงเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งยังสามารถสื่อสารกับบุคคลภายนอกได้ ณ ปัจจุบันหมู่บ้านเริ่มมีความสนใจถึงการพัฒนาและเริ่มการพัฒนาตัวเอง ครอบครัว และส่วนรวมเป็นหลักโดยการปลูกจิตสำนึกให้รักษ์ถิ่นฐานที่กำเนิดและอนุรักษ์ไว้ซึ่งจารีตประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่า

 

               

 

 

 

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 24,943 Today: 6 PageView/Month: 87

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...